ที่ปรึกษา Carbon Footprint for Product
วัตถุประสงค์ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปรียบเทียบกับสินค้านำเข้า
เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท พร้อมทั้งลดต้นทุนการผลิตจากการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น การลดการใช้พลังงานฟอสซิลเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น
ประโยชน์ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
สามารถนำค่า CFP ไปเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เดียวกัน (ของบริษัทอื่นๆ) ทำให้ทราบประสิทธิภาพของตนเอง
ค่า CFP ได้รับความเชื่อถือจากคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมี อบก. รับรอง
ใช้ค่า CFP เป็น Baseline ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของตน
ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น ในกลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม
บ่งชี้จุดบกพร่องให้กระบวนการผลิต
สร้างจุดขายในกับผลิตภัณฑ์
เป็นเครื่องมือทางการตลาด และช่วยให้ส่งออกได้ง่ายยิ่งขึ้น
ได้รับองค์ความรู้เป็นพื้นฐานในการดำเนินงานด้านอื่นๆ ในอนาคต
เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจชื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลก เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
References: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.